ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 18-20 มกราคม 2551
ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 20-22 กันยายน 2551
ความเป็นมา : ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ได้เผยแผ่พุทธศาสนาและวิปัสสนากรรมฐานมาเป็นเวลานาน แก่ประชาชนทั่วไป
จนกระทั้งพระเดชพระคุณพระเทพเวที(ประยุทธ
ประยุตโต)ในสมัยนั้นได้ให้ข้อคิดแก่กรรมการที่บริหารสมาคมว่า
ควรจะมีการเผยแผ่ธรรมแก่ผู้บริหารหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน รัฐวิสาหกิจ
บ้างเพราะหากผู้บริหารเหล่านั้นเป็นผู้มีคุณธรรมก็จะทำให้องค์กร/หน่วยงานเป็นหน่วยงานที่มีคุณธรรมด้วยอีกทั้งหากผู้บริหาร
ซึ่งดำรงตำแหน่งสูงเป็นผู้ที่มีผล ให้คุณ ให้โทษแก่คนหมู่มากได้
เป็นผู้มีธรรมจะทำให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ชั้นรองๆลงมาทุกระดับ
มีคุณภาพด้วยและหากท่านส่งเสริมการศึกษาปฏิบัติธรรมะ
ก็จะทำให้การเผยแผ่ธรรมะเป็นไปโดยสะดวก โดยแนวคิดนี้คุณปัญญา จงวัฒนา
กรรมการบริหารสมาคมในสมัยนั้น จึงได้จัดทำโครงการอบรม
"เส้นทางพัฒนาคุณภาพชีวิตแนวพุทธ" ขึ้นและได้รับความสนใจ
จากนักธุรกิจผู้บริหารองค์กร / หน่วยงานราชการ /
เอกชนระดับสูงและระดับกลางเป็นจำนวนมากมาจนทุกวันนี้
วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในพุทธศาสนาขึ้นพื้นฐาน
ทั้งในด้านปริยัติและ(หลักการ)และปฏิบัติ(การทำจริง)
โดยเฉพาะให้มีความเข้าใจในธรรมะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่พื้นฐาน
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ทั้งธรรมปฏิบัติและปริยัติธรรมจากการอบรมไปใช้ในชีวิตประจำวันทั้งในชีวิตการทำงานและ
ชีวิตครอบครัว สามารถรักษาจิตใจให้สงบเย็นมั่นคง ใช้ความสามารถ สติ ปัญญา
แก้ไขปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้ด้วยใจที่เป็นสุข
3. เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาปฏิบัติธรรมะในขึ้นสูงขึ้นต่อไป
ระยะเวลาอบรม : หลักสูตร 3 วัน ( 3 วัน 2 คืน )ความเป็นวัน ศุกร์
-อาทิตย์ เพื่อให้เหมาะกับนักธุรกิจ/ข้าราชการ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 50 - 70 คน ต่อครั้ง
เนื้อหาหลักสูตร :หลักสูตรเป็นการสอนธรรมะในพระพุทธศาสนาด้วยการทดลองทำ
(Experimental Study) ประกอบกับการให้หลักการทางทฤษฏี (Theoretical
Study) โดยปฏิบัติธรรมใช้ระบบสติปัฎฐานสี่ ตามแนว "พอง-ยุบ"
และการกำหนดรู้อิริยาบถย่อย ในชีวิตร่วมกับการฟังธรรมบรรยาย
ที่เหมาะสมไม่ลึกในรายละเอียดมากนักเพื่อให้ผู้เข้าอบรมที่ยังไม่มีความรู้
ในพุทธศาสนาสามารถเข้าใจได้ง่ายดังรายละเอียดคือ
-1-
ธรรมปฏิบัติ : เป็นการกำหนดอิริยาบถของกายและการรับรู้การกระทบในอายตนะทั้ง
6 "เห็น , ได้ยิน ,รู้กลิ่น ,รู้รส , รู้สัมผัส , และความคิดฯลฯ"
ตามแนวสติปัฏฐานสี่ สัมปชัญญะปัพพะโดยแบ่งเป็น
การฝึกอย่างมีรูปแบบคือการเดินจงกรมและนั่งสมาธิ ,
การเดินจงกรมใช้ระบบวัดมหาธาตุฯ แต่เดินระยะแรก "ขวาย่างหนอ"
"ซ้ายย่างหนอ" เท่านั้นการกลับ กลับ 4 คู่ กำหนดต้นจิต "อยาก......"
เป็นจำนวน 3 ครั้ง การนั่งสมาธิ ใช้วิธีดูหน้าท้องเคลื่อนไหว พอง-ยุบ
และดูการกระทบทางอายตนะอื่นๆด้วย การเดินจงกรม-นั่งสมาธิ
ใช้เวลาบัลลังก์และไม่เกิน 1 ชั่วโมง (30-30นาที) โดยวันแรกๆ
ใช้เวลาประมาณ (15-20 นาที) การฝึกอย่างไม่มีรูปแบบ
คือการกำหนดทั่วไปในชีวิต ตั้งแต่ตื่นนอนจนหลับไป ผู้เข้าอบรมต้อง
พยายามกำหนดเองโดยวิทยากรจะมีช่วงสอนชัดเจนในระหว่างการรับประทานอาหารเช้า
กลางวัน เย็น และการพักทานของว่าง ชา-กาแฟ
ซึ่งจะสอนการกำหนดกายใจเป็นขั้นตอน พร้อมกับให้ผู้เข้าอบรมลองทำไปด้วย
ธรรมบรรยาย : เพื่อให้ผู้เข้าอบรมซึ่งเป็นนักธุรกิจหรือผู้บริหารหน่วยงานในระดับต่างๆ
สามารถเข้าใจหลักธรรมในพุทธศาสนาได้ง่าย
เนื่องจากผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่จะไม่คุ้นเคยกับธรรมะมากนัก
ธรรมบรรยายจึงควรเป็นหัวข้อที่ง่าย ให้หลักการ เหตุผลชัดแจน
ไม่มีคำศัพท์บาลีมากนัก
หรือถ้ามีก็ควรมีการอธิบายให้เข้าใจได้และไม่ลงลึกในรายละเอียดมากธรรมะบรรยายในหลักสูตรมีดังนี้
1. พระพุทธเจ้าสอนอะไร เป็นธรรมบรรยายหลักแสดงในวันแรกของการปฏิบัติ
2. พุทธธรรมกับการชนะทุกข์สร้างสุข เป็นธรรมบรรยายรอง แสดงในวันแรกของการปฏิบัติ
3. กฏแห่งกรรม เป็นธรรมบรรยายหลักที่สำคัญที่สุดในหลักสูตร
อธิบายถึงเหตุผลและหลักการของเหตุปัจจัยแสดงในวันที่สองของการปฏิบัติ
4. บุญกริยาวัตถุ 10 เป็นธรรมบรรยายรองแสดงในวันที่สองของการปฏิบัติ
5. ธรรมะกับการบริหารงาน เป็นธรรมบรรยายหลักแสดงในวันที่สามของการ
6. พุทธธรรมกับการดำเนินชีวิต เป็นธรรมบรรยายหลักแสดงวันที่สามของการปฏิบัติ
นอกจากนี้ยังมีการไขข้อข้องใจคือการแบ่งกลุ่มสนทนาธรรมให้ผู้เข้าอบรมมีโอกาสซักถามปัญหาการปฏิบัติธรรมกับวิทยากรได้
เวลา/วัน ในการจัดอาจปรับได้ตามความเหมาะสม
นอกจากนี้ยังมีธรรมบรรยายอื่นๆ
ที่สามารถปรับเข้าออกได้อีกในระดับธรรมบรรยายรองอาทิ - ภพภูมิ -
พลังจิตกับชีวิตที่เป็นสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น