2554-07-16

เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร?

เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร?
"เศรษฐกิจพอเพียง"
เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง
การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี
ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ
และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น
และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปเผยแพร่
เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไป ดังนี้
เศรษฐกิจพอเพียง
เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ
ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไป ในทางสายกลาง
โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล
รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด
ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง
ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน
และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ
นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต
และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร
มีสติปัญญา และความรอบคอบ
เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง
ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
(สำนักงาน กปร.2550 : 5)
หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ
การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง
ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ในตัว
ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและ
การกระทำ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้
1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น
โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยวิกฤติเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติได้ในทุกระดับ
โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน คือ
ความพอประมาณ (Moderation) ความมีเหตุผล (Reasonableness)
และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี (Self-immunity) ถ้าขาด
คุณลักษณะใดคุณลักษณะหนึ่งไปก็จะไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นความพอเพียง
ได้แก่
 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไปในมิติต่าง ๆ
ของการกระทำ 5 ประการ คือ
1.1 ด้านจิตใจ คือ เริ่มต้นจากตนเองต้องตั้งสติ มีปัญญา มีจิตสำนึกที่ดี
มีเมตตา เอื้ออาทร มีความเข้าใจและประนีประนอม คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้
1.2 ด้านสังคม คือ การสร้างความพอดีในทุกระดับของสังคม
โดยเริ่มจากครอบครัว ชุมชนและสังคม ซึ่งต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง
และที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคงและแข็งแรง
1.3 ด้านเศรษฐกิจ คือ ต้องอยู่อย่างพอดี พอมีพอกิน ไม่หรูหรา ฟุ่มเฟือย
1.4 ด้านเทคโนโลยี คือ
ควรเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะและความต้องการของประเทศ
และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเรา
1.5 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ
ใช้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ
ตลอดจนรณรงค์รักษาทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด
 ความมีเหตุผล หมายถึง
การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
ซื่อตรงและไม่โลภอย่างมาก
 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการ
เปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ
ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน
กล่าวคือ
 เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อม
เพื่อประกอบการวางแผนและการใช้ความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
 เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย
มีความตระหนักในคุณธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร
ใช้สติปัญญาในการดำรงชีวิต
ที่มา : สำนักงาน กปร. (2550:23)
5.แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ
จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ
การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน
ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
การปฏิบัติในระดับตนเองและในระดับองค์กร
"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า
25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ
และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น
และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง
และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นปรัชญาแห่งวิถีชีวิตที่มีความหลากหลาย
และสามารถยืดหยุ่นความเป็นอยู่ของชีวิตของตนได้ด้วยเหตุนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานความหมายของความพอเพียงไว้
ตามพระราชดำรัส ที่พระราชทานในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4
ธันวาคม 2541 ดังนี้

"...คำว่าพอเพียงมีความหมายกว้างออกไปอีก
ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น
แต่มีความหมายว่าพอมีพอกิน...พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง..."
"...ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย
ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอแม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย
แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ..."
"Self-sufficiency (พึ่งพาตนเอง) นั่นหมายความว่า ผลิตอะไร
มีพอที่จะใช้ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง..."
"...แต่พอเพียงนี้ มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่า
พอก็พอเพียง เพียงนี้ก็พอ ดังนั้นเอง
คนเราถ้าพอในความต้องการก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย
ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด-อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ
มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ไม่สุดโต่ง
ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข..."

1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น
โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย
และวิกฤติเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับโดยเน้นการปฏิบัติ
บนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน


3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
ความพอประมาณ หมายถึงความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียน ตนเองและผู้อื่น
เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล หมายถึง
การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไป อย่างมีเหตุผล
โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการกระทำนั้น
ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตนเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ
และการ เปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น
ต้องอาศัยทั้งความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน
เพื่อประกอบการวางแผน
และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
มีความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน
เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม
มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร
ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตไม่โลภ ไม่ตระหนี่
5. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ
จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้คือ
การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน
ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

แนวความคิดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ
เข็มทิศเพื่อการดำรงอยู่และปฏิบัติตนหรือการขับเคลื่อนการพัฒนาให้ประเทศเจริญอย่างมั่นคงและยั่งยืนในมิติต่าง
ๆ เป็นการดำเนินตามทาง สายกลางก้าวทันต่อโลก โดยใช้ได้ทั้งระดับบุคคล
ครอบครัว ชุมชน ประเทศ เป็นการมองโลกในลักษณะที่เป็นพลวัต
มีการเปลี่ยนแปลง มีความไม่แน่นอน
เป็นการปฏิบัติมุ่งผลทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ความพอเพียง เป็นทั้งผลและวิธีการ (End and mean) จากการกระทำ โดยผล คือ
การพัฒนาที่สมดุลใน ทุก ๆ ด้าน และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ในขณะเดียวกัน
วิธีการนำความรู้ไปใช้ต้องมองทั้งในด้านเหตุและผลควบคู่กันไป
ภายใต้พลวัตทั้งภายใน และภายนอกประเทศ
การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ
สามารถดำเนินการโดยผ่านการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีระดับต่าง ๆ
และนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและทางสังคม
(ภูมิ-สังคม) ของตนเอง สำหรับการประยุกต์ใช้ที่เห็นเป็นรูปธรรมง่าย ๆ
เช่น การส่งเสริมการออม
จากผลการสำรวจพบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ทั้งกับธุรกิจ
ครอบครัว และชีวิตประจำวัน
สำหรับความเข้าใจผิดที่ว่าหากยึดเศรษฐกิจพอเพียงไม่ควรกู้เงิน
หรือธุรกิจที่เน้นกำไรต้องไม่ใช้เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช้บัตรเครดิต
ตรงจุดนี้สามารถทำได้หากรู้เท่าทัน ประมาณตน ใช้จ่ายอย่างพอดี
และเชื่อว่า ถ้ามีความร่วมมืออย่างดีของคนไทย
เศรษฐกิจพอเพียงจะฝังรากในสังคมไทยได้
และจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนมั่นคง

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาครัฐ : แนวคิดสู่การปฏิบัติ
รศ.ดร.ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี
คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ NIDA

ภาครัฐจะต้องมีการกำหนดและบริหารนโยบายและมาตรการสาธารณะที่ให้บริการแก่ประชาชนเพื่อการพัฒนาสังคม
ดังนั้น การประยุกต์ปรัชญาของภาครัฐ คือ
การกำหนดและบริหารนโยบายและมาตรการที่มีกระบวนการเป็นไปตามหลักของปรัชญา
เป็นที่น่าสังเกตว่ามาตรการของภาครัฐในอดีตที่มีปัญหาไม่บรรลุวัตถุประสงค์
มักจะไม่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การเริ่มต้นของการปฏิบัติ คือ เริ่มด้วยความศรัทธา
มีความเชื่อและความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงที่จะใช้ปรัชญานี้เป็นหลักในการดำเนินงาน
ต้องพิจารณาว่าเป็นไปตาม 3 ห่วง 2 เงื่อนไข หรือไม่
ในด้านความพอประมาณ จะต้องพิจารณาว่าเป้าหมายมีความเหมาะสมหรือไม่
สุดโต่งหรือไม่ เป็นไปตามหลักสายกลางหรือไม่ ผลกระทบต่อคนกลุ่มไหน
ทำให้พฤติกรรมคนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
รวมทั้งพิจารณาว่าทำให้ความสามารถในการพึ่งตนเองมากขึ้นหรือน้อยลง
ด้านความมีเหตุมีผล คือ พิจารณาว่านโยบายนี้ได้มีการศึกษา
วางแผนอย่างรอบคอบเพียงใด ผลกระทบระยะสั้นและระยะยาวเป็นอย่างไร
สามารถบรรลุผลได้หรือไม่ ยั่งยืนหรือไม่
เครื่องมือสำคัญของความพอประมาณ และความมีเหตุมีผล ก็คือ
การวางแผนและวิเคราะห์โครงการตามกรอบของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในการวางกรอบและกำหนดนโยบาย จะต้องมีพื้นฐานของความรู้และการมีคุณธรรม
หลักธรรมาภิบาล ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และความโปร่งใส
ส่วนประเด็นด้านการมีภูมิคุ้มกัน คือ
การพิจารณาว่ามีความเสี่ยงใดบ้างที่ทำให้นโยบายไม่สามารถบรรลุผลตามที่ตั้งไว้ได้
มีการเตรียมที่จะรับความเสี่ยงหรือไม่
ในการมีภูมิคุ้มกันนี้สามารถทำได้ โดยมีแผนการบริหารความเสี่ยง
โดยมีการระบุความเสี่ยง ตัวอย่างความเสี่ยง ได้แก่
การเปลี่ยนแปลงอัตราการแลกเปลี่ยนทางการเงิน เทคโนโลยี การดำเนินงาน
เสี่ยงจากการทุจริต ฯลฯ โดยสรุปการประเมินความเสี่ยง
การวางกลยุทธ์จัดการความเสี่ยง และการติดตามประเมินผล
จึงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโดยการมีตาข่ายรองรับภัยพิบัติ


ปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้เลยนะครับว่าสถานการณ์บ้านเมืองค่อนข้างเป็นที่น่าจับตามองในสภาวะที่สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลง
ไปอย่างมากเข้าสู่ ระบบทุนนิยม ที่ "เงินตรา"
มีความสำคัญนำหน้าจิตใจความรับรู้สิ่งที่ถูกผิด ศีลธรรม จริยธรรมถูกละเลย
เป็นเรื่องรองลงมาจนบางครั้งผมเองรู้สึกว่า "เงิน" สามารถซื้อ
ความเป็นมนุษย์ ความเป็นคนหรือซื้อศักดิ์ศรีความเป็นไทย
ไปแล้วสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในสังคมไทย แทบทุกหย่อมหญ้า
ไม่ว่าในสังคมเมืองหรือชนบท ระบบทุนนิยมได้เริ่มสร้าง
ปัญหาสังคมต่างๆ ซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม
ความยากจน ความเป็นอยู่ของประชาชน
ตลอดจนถึงปัญหาอาชญากรรมการรับรู้ข่าวสารต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองขณะนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ประชาชนต้อง
คอยติดตามและใช้วิจารณญาณ คิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว "พ่อของแผ่นดิน"
พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพทรงมองการณ์ไกลเสมือนหนึ่งเล็งเห็น
เหตุการณ์ล่วงหน้า ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผืนแผ่นดินไทย พระองค์ท่าน
ได้พระราชทานปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง"
เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศมาเป็นเวลานานแล้วและดูเหมือนว่าในสถานการณ์ปัจจุบันปัญหาต่างๆจะไม่เกิดขึ้นกับ
ประเทศไทย ถ้าแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียงนี้ไม่ถูกละเลย
และเป็นที่ยึดถือปฏิบัติ อยู่ในจิตสำนึกของพสกนิกร
ชาวไทย และที่สำคัญคือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำประเทศ และดูแลความสงบสุข
เรียบร้อยในบ้านเมือง
โอกาสนี้ผมจะขออัญเชิญ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มาเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาครับโดยปรัชญานี้มีเนื้อหาสาระดังนี้ครับ
"เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนถึงระดับรัฐ
ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ
ให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ
เพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์
ความพอเพียงหมายถึงความพอประมาณความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบ
ภูมิคุ้มกันในตัวดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ
อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน

ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ
และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาต่างๆมาใช้ในการวางแผน
และดำเนินการทุกขั้นตอน และ
ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ
โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และ นักธุรกิจในทุกระดับ
ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม
ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร
มีสติปัญญาและความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคมสิ่งแวดล้อม
และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี"
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ จึงประกอบหลักการหลักวิชาการ
และหลักธรรมหลายประการ อาทิ

(๑) เป็นปรัชญาแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน
จนถึงระดับรัฐ
(๒) เป็นปรัชญาในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง
(๓) จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัตน เพื่อให้สมดุล
และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่าง
รวดเร็ว กว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
(๔) ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ
ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอ
สมควรต่อ การมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
(๕) จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง
อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผน
และดำเนินการ ทุกขั้นตอน
(๖) จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ
นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ
ให้มีสำนึกในคุณธรรม
ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม
ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร
มีสติปัญญาและความรอบคอบ
หากจะทำให้เข้าใจง่าย ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น มีหลักพิจารณาอยู่ 5
ส่วน หรือ เพื่อง่ายต่อการจดจำ และนำไปปฏิบัติ
อาจเรียกว่า 3 ลักษณะ 2 เงื่อนไข ก็ได้
องค์ประกอบด้านลักษณะ ความพอเพียงต้องประกอบด้วย 3 ลักษณะ ดังนี้
• ความพอประมาณ
หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ อาจกล่าวอีกนัยหนึ่ง
คือการยึดตนอยู่บนทางสายกลางก็เป็นได้
• ความมีเหตุผล
หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น
จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัย
ที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
• การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ
ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึง
ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ
ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล คือการ
เตรียมพร้อมรับมือกับการแก้ปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้น
องค์ประกอบด้าน เงื่อนไข ความพอเพียงต้องอาศัย 2 เงื่อนไข ดังนี้
• เงื่อนไขความรู้
ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้น
มาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
• เงื่อนไขคุณธรรม
ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม
มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร
ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
เศรษฐกิจพอเพียงกับ เกษตร ทฤษฎีใหม่ และ ประสานความมั่นคงเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่
เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง
ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน
โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ
หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ
โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้
ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา
การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี
เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการ
และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่
แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่
ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น
เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ
ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดังนี้
ทฤษฎีใหม่แบบพื้นฐาน
ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน
เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1
ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ
ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยง
จากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า
มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ
จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้
และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐาน
ของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น
ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้
ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว
อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1
ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ
และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม
ทฤษฎีใหม่แบบก้าวหน้า
ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า
ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2
เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์
หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกัน
ในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่าง ๆ
มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวม
บนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน
การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้
ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ
เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง ความพอเพียงในระดับประเทศ
เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3
ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น
ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่
ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา
แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมมือกันพัฒนา
ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ
ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก
ไม่เบียดเบียน แบ่งปัน
และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด

จากการยึด หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางปฏิบัตินั้น
คาดว่าผลที่จะได้รับจากการประยุกต์ใช้คือ
การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน
ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
ความรู้และเทคโนโลยี
จะเห็นได้ว่าหากประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน
จนถึงระดับรัฐ ยึดถือปรัชญานี้เป็นแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตน
มีสำนึกในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความรอบรู้ที่เหมาะสม
ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ
ประเทศไทยจะสงบสุข ร่มเย็นยืนหยัดอยู่ได้ด้วย
ความสามารถ ความร่วมมือร่วมใจของคนไทยทุกคน

สุดท้ายนี้ผมขออัญเชิญ "พระบรมราโชวาท" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่พระราชทานแก่นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ ๑๒
กรกฎาคม ๒๔๙๙ ความว่า

"การที่จะประกอบกิจการใดๆ ให้เจริญเป็นผลดีนั้น
ย่อมต้องอาศัยความอุตสาหะพากเพียร และความซื่อสัตย์ สุจริต
เป็นรากฐานสำคัญ ประกอบกับจะต้องเป็นผู้มีจิตเมตตากรุณา
ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และพร้อมที่จะบำเพ็ญประโยชน์
ให้เกิดแก่ส่วนรวมตามโอกาสอีกด้วย"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น