2554-07-16

อัตราการเสียชีวิตผู้ป่วยในรพ.ราษีไศล

1. จำนวนและอัตราผู้ป่วยเสียชีวิตในรพ.
- มีแนวโน้มลดลงในปี 2553
- วิเคราะห์สาเหตุการเสียชีวิตพบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ส่งต่อมาจากรพ.ศรีสะเกษ
และรพ.สรรพสิทธิ์ประสงค์ รพ.ศูนย์มะเร็งอุบลราชธานี
- จากการทบทวนการเสียชีวิตพบว่าในปี 2553 เสียชีวิตทั้งหมด 41 รายจากสาเหตุมะเร็ง

ไตวายระยะสุดท้าย 4 ราย
สูงอายุและมีโรคเรื้อรัง 23 ราย
ได้มีการพัฒนาแนวทางในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ส่งพยาบาลอบรมหลักสูตร
Palliative Care มีการจัดทำคลินิกโรคไตวาย เปิดศูนย์ไตวาย
ส่งพยาบาลอบรมเฉพาะทาง พยาบาล CAPD 3 คน
เพื่อดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคไตวายโดยเฉพาะ ส่วนอีก 2 ราย
เป็นผู้ป่วยเสียชีวิตโดยไม่คาดฝัน
พบว่าสาเหตุเกิดจากมีการย้ายผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้นจาก UGIB
เข้าห้องพิเศษทำให้ไม่สามารถตรวจภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ทันท่วงที
ผู้ป่วยมี Sudden Cardiac Arrest จาก Hypoglycemia R/O MI
ได้ปรับปรุงกระบวนการประเมินซ้ำ/การจัดประเภทผู้ป่วยและเกณฑ์ที่การย้ายผู้ป่วยเข้าห้องพิเศษ
หลังจากนั้นไม่มีเกตุการณ์ซ้ำ อีก 1 รายเป็น Case Septip Shock มี
Prolong Shock และเสียชีวิตด้วย Respiratory Fail เป็น Case Miss
Diagnosis ประสานไปยังองค์กรแพทย์ เนื่องจากเป็นแพทย์ Intern
ได้มีการปรับปรุงระบบการ Consult 2nd Opinion
ใหม่แบบมีพี่เลี้ยงหลังจากนั้นไม่เกิดอุบัติการณ์ซ้ำอีก

อัตราการกลับมารักษาซ้ำ


อัตราการกลับมารักษาซ้ำ
- อัตราการ Re-admitted มาจากสาเหตุการปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องมีแนวโน้มลดลง
โรคที่กลับมา Re-admitted
ผู้ป่วยในส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและไตวายเรื้อรังตามลำดับ
ซึ่งเป็นโรค 5 อันดับได้พัฒนาการวางแผนจำหน่าย
และการดูแลต่อเนื่องโดยพัฒนาศูนย์ HHC ร่วมกับการประสานการดูแลในระบบ
คปสอ. ในการเยี่ยมบ้านทำให้ปี 2553 มีแนวโน้มลดลง
ตัวชี้วัดจาก Patient safety goals

ตัวชี้วัดตาม Patient safety goals
- ปัญหาความไม่ปลอดภัยของผู้ป่วยจากการดูแลของเจ้าหน้าที่คือผู้ป่วยตกเตียงและเกิดแผลกดทับ
ได้ปรับปรุงคุณภาพในด้านการประเมินความเสี่ยงต่อการตกเตียง/เกิดแผลกดทับ
และได้พัฒนาที่นอนป้องกัน Bed care หลายรูปแบบ เช่นที่นอนลม
ที่นอนฟูกลอนเล็ก
ที่นอนหลอดซึ่งได้รับการคัดเลือกเข้าประกวดในระดับประเทศที่จังหวัดภูเก็ตปี
2553 มีการจัดหาไม้กั้นเตียงเพิ่มครอบคลุมผู้ป่วยทุกรายที่มีภาวะเสี่ยง
ส่งผลให้ปัญหาเรื่องการตกเตียงและการเกิดแผลกดทับมีแนวโน้มที่ดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น