สัตว์ที่อาศัยอยู่ตามพื้นป่าโดยอาศัยคืบคลานหรือเกาะหรือขุดรูอยู่ตามพื้นดินรวมทั้งพวกที่อยู่ในน้ำจะต้องมีการปรับตัวอย่างมากเพื่อการอยู่รอด
เนื่องจากต้องประสบกับสภาวะต่างๆที่เปลี่ยนแปลงอยู่เป็นประจำหรือต้องอยู่ในสภาพไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตโดยทั่วไป
เช่น สภาวะที่ทำให้มีการสูญเสียน้ำออกจากลำตัวและสภาพอุณหภูมิสูงสภาพที่มีปริมาณออกซิเจนค่อนข้างต่ำของดินเลน
และการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำ สภาพแวดล้อมทางทะเล
ป่าชายเลนเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยสัตว์น้ำและสัตว์บกนานาชนิด
นับตังแต่สัตว์ ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ ตั้งแต่ ฟองน้ำ ซีเลนเตอเรท
หนอนตัวแบน หนอนปล้องหอยหมึก กุ้ง กั้ง ปูตลอดจนสัตว์มีกระดูกสัน
หลังจำพวก ปลา สัตว์เลื้อยคลาน นก และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
สัตว์ต่างๆเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีความสำคัญ ทางเศรษฐกิจและมีความสำคัญต่อ
ระบบนิเวศทะเล เป็นอย่างยิ่ง
ปลาจรวด (Johnius)
ปลาขนาดยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ลำตัวแบนทางด้านข้าง
เกล็ดมีสีเทาอมดำซึ่งแตกต่างจากปลาจรวดชนิดอื่นโดยทั่วไปซึ่งมักมีสีเงินอมเหลือง
พบอาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งและลำคลองในป่าชายเลน โดยหากินใกล้พื้นทะเล
ปลาเห็ดโคน (Sillaeo m`culata)
ลำตัวค่อนข้างกลมเรียวยาว ขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร ปากยาวแหลม
เกล็ดหุ้มลำตัวสีเงินเป็นประกาย อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงหาอาหารจำพวกหนอน
หอย กุ้ง ตาภพื้นทฐเลที่เบ็นโคลนริมชายฝั่งและในแม่น้ำ
ปลาดุกทะเล (Plotosus afguillaris)
ปลาดุกขนาดกลาง มีลำตัวเรียวยาว ด้านหน้าปากมีหนวด 4 คู่
ลำตัวมีคาดสีดำสลับขาวตลอดความยาว
ด้านท้องสีขาวชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่
หากินอยู่ตามพื้นที่เป็นดินโคลนริมชายฝั่งและปากแม่น้ำ
ปลาตะกรับจุด หรือปลากะทะ (Scatophagus argus)
ลำตัวแบนบางทางด้านข้างคล้ายปลาผีเสื้อปากเล็ก
ลำตัวและครีบมีจุดสีน้ำตาลกระจายทั่วไป
มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงโดยเฉพาะตัวขนาดเล็กมักว่ายอยู่ตามผิวน้ำ
บริเวณลำคลองของป่าชายเลน
ปลากะพงขาว (Lates calcarifer)
ปลากะพงขนาดค่อนข้างใหญ่ เมื่อโตเต็มที่มีความยาวถึง 1 เมตร
เกล็ดลำตัวเป็นสีเงิน
ส่วนหัวเล็กงอนลงเล็กน้อยอาศัยอยู่ตามลำคลองในป่าชายเลนและริมฝั่งทะเลทั่วไป
นับเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย
ปลาตีน (Boleophthalmus)
ปลาที่ปรับตัวทางโครงสร้างและสรีระหลายอย่างจนสามารถอาศัยอยู่บนบกได้เป็นเวลานานปลาหลายชนิดและขนาดแตกต่างกัน
หัวขนาดใหญ่ ตาโตลำตัวเรียวเล็กลงไปทางหาง
ครีบอกแผ่ขยายใหญ่ใช้คลานขณะอยู่บนบกได้ดี ปลาตีนกินกุ้ง ปู
และหนอนตามหาดโคลนเป็นอาหาร
กั้งตั๊กแตน
(Oratosguilla nepa)
กั้งตั๊กแตนขนาดกลาง ความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ลำตัวค่อนข้างแบน
ด้านบนมีสันเรียงตัวตามความยาว 8 เส้น ส่วนท้องปล้องที่2และ 5
มีแถบคาดสีดำตามขวาง
ตัวเมียที่ผ่านการผสมแล้วจะปล่อยไข่ออกมาอุ้งไว้จนกว่าจะฟักเป็นตัวอ่อน
กุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis)
กุ้งทะเลขนาดค่อนข้างใหญ่ใกล้เคียงกับกุ้งกุลาดำ
เปลือกหุ้มตัวมีสีเหลืองนวลบนกรีมีฟัน 5-8 ซี่ ด้านล่างมี 2-5 ซี่
อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลนริมชายฝั่งและลำคลองในป่าชายเลน
ปูทะเล (Scylla serrata)
ปูขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มที่อาจมีน้ำหนักมากกว่าครึ่งกิโลกรัม
กระดองพื้นผิวเรียบ เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์
ตัวผู้จะอุ้มตัวเมียไว้รอจนกว่าตัวเมียจะลอกคราบแล้วจึงผสมพันธุ์ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วจะถูกปล่อยออกมาอุ้งไว้ที่หน้าท้องจนกระทั่งฟักออกไปเป็นตัวอ่อนดำรงชีวิตเป็นแพลงค์ตอนชั่วคราว
กุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon)
กุ้งทะเลขนาดค่อนข้างใหญ่ ความยาวลำตัวประมาณ 20 เซนติเมตร
ลำตัวสีน้ำเงินอมม่วงเข้มและมีลายขวางเป็นปล้อง
อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลริมชายฝั่งและป่าชายเลนปัจจุบันมีการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย
กุ้งเคย (Acetes)
ครัสเตเชียนขนาดเล็กรูปร่างคล้ายกุ้ง
แต่ดำรงชีวิตอยู่ใกล้ผิวทะเลโดยไม่จมลงคลานตามพื้นอย่างกุ้งทั่วไป
ขนาดยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร
เปลือกบางและนิ่มอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงตามชายทะเลและลำคลองบริเวณป่าชายเลน
ปูแสม หรือปูเค็ม (Sesarma mederi)
กระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ปกคลุมด้วยขนสั้นก้ามขนาดใหญ่แข็งแรงสีบานเย็นอมม่วงขุดรูอาศัยอยู่ตามพื้นป่าชายเลนที่เป็นดินโคลนกินเศษอินทรีย์และใบไม้ที่เน่า
เปื่อยเป็นอาหารปูชนิดนี้เองที่ถูกจับนำมาดองเป็นปูเค็ม
ปูก้ามดาบ (Fiddler Carb)
เป็นปูขนาดเล็ก ขอบกระดอง ส่วนหน้าแคบ ทำให้เบ้าตา อยู่ชิดกัน
ก้านตายาวมาก และฝังอยู่ในร่องเบ้าตา ก้ามสองข้างขนาดไม่เท่ากัน
บางพวกมีขนาดก้าม แตกต่างกัน มากอย่างเด่นชัด ลักษณะโดดเด่น
ของปูก้ามดาบนั้น จะมีก้ามใหญ่อยู่ทางข้างซ้าย
ก้ามใหญ่นี้จะชูชันสูงอยู่ตลอดเวลา
เป็นลักษณะพิเศษนี้มีเฉพาะปูตัวผู้เท่านั้น
ส่วนปูตัวเมียมีก้ามทั้งคู่เท่ากัน มันจะชุก้าม
เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของอาณาเขต ซึ่งตนอาศัยอยู่ เมื่อมีศัตรูผ่านมา
นอกจากการชูก้าม เพื่อแสดงอำนาจแล้ว การชูก้ามของปูก้ามดาบ
เป็นการชูก้ามเพื่อเรียกความสนใจจากปูตัวเมียอีกด้วย
ปูก้ามดาบ พบตามป่าชายเลน และป่าโกงกาง
กินสาหร่ายขนาดเล็ก และซากสัตว์เป็นอาหาร ธรรมชาติเร้นลับ
ของปูก้ามดาบที่น่าอัศจรรย์ใจ อีกอย่างหนึ่งก็คือ มันสามารถรู้กำหนด
เวลาน้ำขึ้นน้ำลง ได้อย่างดีเยี่ยม ปูก้ามดาบ จะออกจากรูก่อนน้ำขึ้นน้ำลง
ช้าเร็วกว่ากันราวๆ 2 ชั่วโมง ซึ่งนับว่าเป็นเรื่อง
มหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง ปูก้ามดาบเป็นที่นิยมจับมาขาย ในตลาดซันเดย์
จตุจักร แต่การนำมาเลี้ยง ต้องอาศัย ความเอาใจใส่
ดูแลและสร้างสภาวะแวดล้อมให้คล้าย ธรรมชาติมากที่สุด ถึงสามารถ เลี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น